วันที่ 17 ธันวาคม 255
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ปฐมวัย ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก
รวมทั้งเป็นแนวทางในการประเมินมาตรฐานการเรียนของเด็กด้วย
- สาเหตุที่ต้องมีมาตรฐาน
1.บ่งบอกให้รู้ว่ามีคุณภาพแค่ไหน
2.สามารถยอมรับได้ไหม
-
กรอบของมาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ต้องเป็นตัวที่กำหนดขอบข่ายและแนวทางเพื่อให้ปฏิบัติตาม
-
การจัดประสบการณ?คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ต้องยึดพัฒนาการเด็กเป็นสำคัญจากนั้นก็ประเมินตามพัฒนาการ
( สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย )
สาระ
มาตรฐานและตัวชี้วัดคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : การเข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สารที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 :
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว
น้ำหนัก ปริมาตร เงิน
และเวลา
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง
และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก
จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และการนำเสนอ
- การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้แก่ การแก้ปัญหา
การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ
ทางคณิตศาสตร์และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ในแต่ละช่วงอายุมีความซับซ้อนแตกต่างกัน ซึ่ง
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็ก3 ปี
1) มีความรู้
ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้าและเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม
และการแยกกลุ่ม
2)
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา
สามารถเปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนักและปริมาตร
สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
3) มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก
สร้างสรรค์งานศิลปะ
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้
ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ
และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวเย็น
และเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา
3) มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ
สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ
แบบรู้ของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
สามารถทำตำแหน่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี
ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้
ความเข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน
เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว
น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่มาตรฐาน
สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน
สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
3) มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางสามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง
และระยะทาง และแสดงตำแหน่งทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม
รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ
หรือคลี่และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ
แบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดสี
ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5)
มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล ในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก
ต้องคำนึงถึงขั้นตอนของเด็ก ได้แก่ ทบทวนความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่
สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัตินำความรู้ไปใช้ วัด
และประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ
อาทิการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น