zwani.com myspace graphic comments

Profile

รูปภาพของฉัน
Miss Sirinya Jaithong Student ID.5411201691 No.6 early childhood education.

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันที่  9  ธันวาคม 2555
อาจารย์ถามว่ากล่องที่เอามานักศึกษาสามารถนำมาใช้กับคณิตศาสตร์ยังไง
1.การนับ  คือ ให้เด็กได้นับจำนวนกล่อง
2.ตังเลข  ให้เด็กดูตัวเลข
3.การจับคู่  คือ ให้เด็กจับคู่กล่องที่มีลักษณะคล้ายกัน
4.การจัดประเภท  ต้องกำหนดเกณฑ์ให้เด็กว่าเด็กต้องแยกกล่องลักษณะแบบไหน
5.การเปรียบเทียบ ต้องวัดให้เด็กดูก่อนแล้วให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของกล่อง
6.การเรียงลำดับ  เมื่อวัดความยาวของกล่องแล้วก็ให้เด็กเีรยงลำดับความยาว
7.รูปร่างรูปทรง  ให้เด็กดูว่ามีลักษณะแบบไหน
8.การวัด  ควรวัดแบบใช้นิ้ว  
9.เซต ให้เด็กแยกลักษณะของกล่องตามลักษณะที่คล้ายกัน
10.เศษส่วน  ให้เด็กนับจำนวนกล่องทั้งหมดก่อน
11.การทำตามแบบ  คือ จักกล่องตามครู
12.อนุรักษ์  

 จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 11 คน  แล้วเอากล่องมาประดิษเป็นรูปอะไรก็ได้โดยมีเกณฑ์ดังนี้

1.กลุ่มที่ 1  สามารถคุยกันในกลุ่มได้  ซึ่ง จะเกิดการวางแผนและมีการแก้ปัญหาในตอนนั้นเลย

2.กลุ่มที่ 2 สามรถคุยกันได้แต่ต้องนำกล่องมาวางที่ละกล่อง  มีการแก้ปัญหาทีละขั้น

3.กลุ่มที่ 3 ห้ามพูดคุยกัน  เกิดการแก้ปัญหามาที่สุด 



(  ผลงานของเราค่ะ หุ่นยนย์ )


( ผลงานเราสวยไหมค่ะ )

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันที่  23 พฤศจิกายน  2555
อาจารย์อธิบายขอบเขตคณิตศาสตร์ของ  นิตยา  ประฤติกิจและอาจารย์เยาวภา  ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายว่าขอบเขตของคณิตสามารถนำมาสอนเด็กปฐมวัยได้ทุกข้อและสามารถนำมาบูรณการให้เข้ากันได้  ซึ่งขอบข่ายสามารถสรุปได้ดังนี้

ขอบข่ายคณิตศาสตร์  ของ นิตยา  ประพฤติกิจ

ขอบข่ายคณิตศาสตร์ของ อาจารย์เยาวภา
ขอบข่ายคณิตศาสตร์ของนิตยา  ประพฤติกิจ  มีรายละเอียดดังนี้
1.การนับ  คือ  การแทนค่าหรือเครื่องหมาย
2.ตัวเลข  คือ  การแทนค่าด้วยตัวเลขฮินดูอารบิก
3.การจับคู่  เช่น  จำนวนที่เท่ากัน  รูปร่างรูปทรง  เลขคู่เลขคี่  สูงต่ำ  ปรอมาร
4.การจัดประเภท  ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ขึ้น  เช่น  ให้เด็กแยกผลไม้รสหวาน
5.การเปรียบเทียบ  คือ  ต้องมีการหาค่า  แล้วเปรียบเทียบ  ซึ่งต้องให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือกระทำเอง
6.การจัดลำดับ คือ ต้องหาค่าก่ือนแล้วให้เด็กเปรียบเทียบแล้วจึงวางเรียงลำดับ
7.รูปร่างและรูปทรง  คือ ต้องมีความ ยาว ความลึกและความสูง
8.การวัด  คือ การหาค่าทุกอย่างและต้องมีเครื่องมือ
9.เซต  คือ การจัดประเภทของที่มีคุณสมบัติคล้้ายกัน
10.เศษส่วน  ต้องทำให้เด็กรู้จักคำว่า "ทั้งหมด" ก่อนแล้วจึงตามด้วยคำว่า "ครึ่ง"
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย  
12.อนุรักษ์  เช่น  การที่มีปริมาณเท่ากันแต่บรรจุในแก้วที่มีขนาดสูงกับเตี้ย  เด็กจะตอบว่าแก้วที่มีความสูงจะมีปริมาณน้ำมากกว่า

ขอบข่ายคณิตศาสตร์ของอาจารย์เยาวภา  มีรายละเอียดดังนี้
1.การจัดกลุ่มหรือเซต  คือ การทำให้เด็กรู้จำนวนและการรวมกลุ่ม
2.จำนวน  คือ  การทำให้เด็กรู้จักค่าและฝึกการนับ
3.ระบบจำนวน  คือการแทนค่าตัวเลขด้วยเลขฮินดูอารบิก
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซต
5.การรวมกลุ่ม  คือ  การบวกเลข
6.ลำดับที่  คือ  การเรียงลำดับ
7.การวัด  เป็นการหาค่า
8.รูปทรงเรขาคณิต
9.สถิติและกราฟ  คือ  การนำเสนอข้อมูลทุกอย่างที่หาค่าได้

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.สัปดาห์หน้าให้เอากล่องแบบไหนก็ได้มา
2.ให้จับคู่แล้วและหาวิธีการสอนคณิตโดยยึดหลักขอบข่ายคณิตศาสตร์ของนิตยา  ประพฤติกิจ


วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์

ภาพบรรยายกาศหลังเสร็จพิธี


วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่3

วันที่ 16 พฤศจิกายน  2555

วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มกับเพื่อนในห้องและให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และสรุปงานที่ได้ให้ไปหามาในอาทิตย์ที่แล้ว

(กำลังเตรียมตัวนำเสนอค่ะ )


( แลกเปลี่ยนความเห็นกันอยู่จ้า )



( ตั้งใจทำกันมาก ๆๆ )

โดยสมาชิกในกลุ่มของดิฉันมีดังนี้
1.นางสาวศิรินยา ใจทอง
2.นางสาวชลดา มั่นคง
3.นางสาวพัชรวี สิริเวชพันธ์

และได้สรุปสิ่งที่หามาร่วมกันดังนี้

1.ความหมายของคณิตศาสตร์

     คณิตศาสตร์เป็นความรู้แขนงหนึ่งที่มีหลัการและวิธีการที่แน่นอนและเป็นไปอย่างมีเหตุผล ซึ้งสามารถนำไปใช้ในหารแก้ไขปัญหาต่างๆได้

อ้างอิงจาก
1.วิจิตรา อุปการนิติ.หลักคณิตสาสตร์
2.ฉวีวรรณ ถีรติกร.เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ(คณิตศาสตร์)
3.มาร์เชล สโตน.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

2.จุดประสงค์ของการเรียนคณิตศาสตร์

      เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในด้านต่างๆ
- การเขียน ได้แก่ การจดบันทึก,การจดตัวเลข
- การพูด ได้แก่ การนับตัวเลข,การบอกเวลา,การบอกสัญลักษณ์
- การอ่าน ได้แก่ การเล่านิทาน
- การคิดคำนวน ได้แก่ การบวก การลบ

อ้างอิงจาก
1.วิจิตรา อุปการนิติ.หลักคณิตสาสตร์
2.ฉวีวรรณ ถีรติกร.เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ(คณิตศาสตร์)
3.มาร์เชล สโตน.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

3.ทฤษฏี

     ทฤษฏีของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถแบ่งได้ 3 ทฤษฏี
1.ทฤษฏีการฝึกฝน คือ เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้โดยการฝึกฝนทำสิ่งนั้นซ้ำๆ
2.ทฤษฏีการเรียนรู้โดยบังเอิญ คือ เด็กจะเรียนรู้ได้ต้องเกิดความพร้อม
3.ทฤษฏีแห่งความหมาย คือ เด็กจะเรียนรู้ได้เมื่อสิงนั้นมีความหมายต่อตนเอง

อ้างอิงจาก
1.วิจิตรา อุปการนิติ.หลักคณิตสาสตร์
2.ฉวีวรรณ ถีรติกร.เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ(คณิตศาสตร์)
3.มาร์เชล สโตน.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

4.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

1.การนับ
2.การจำแนก
3.ตัวเลข
4.การสังเกต
5.หาความสัมพันธ์

อ้างอิงจาก
1.กมลรัตน์ กมลสุทธิ.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสเชอรี่
2.ฉวีวรรณ ถีรติกร.เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ(คณิตศาสตร์)
3.มาร์เชล สโตน.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

5.หลักการสอน

1.สอนให้เข้าใจ คือ ผู้สอนต้องถามความรู้เดิมของผู่เรียนก่อน
2.สอนเนื้อหาไหม่ ค์อ ต้องอาศัยประสบการณ์และเนื้อหาที่ต่อเนื่องกับความรู้เดิม
3.การปฏิบัติทางคณิต คือ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4.สอนให้ซึมซาบ คือ ผู้สอนจะเข้าใจทีละน้อย
5.สอนให้เกิดความรู้ถาวร คือเมื่อสอนถูกต้องแล้ว ให้ทำแบบฝึกหัด

อ้างอิงจาก
1.วิจิตรา อุปการนิติ.หลักคณิตสาสตร์
2.ฉวีวรรณ ถีรติกร.เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ(คณิตศาสตร์)
3.มาร์เชล สโตน.พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่2

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ล่ะคนลิงค์ Blog ให้อาจารย์
 
กิจกรรมที่ได้เรียนในวันนี้คคือ
 
อาจารย์ได้ทบทวนในสิ่งที่ได้สอนไปในอาทิตย์ที่แล้ว ละได้บอกเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ว่าคณิตศาสตร์คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น
- พัดลม เป็นรูปเรขาคณิต
- กระดาน เป็นรูปเราขาคณิต
- นักศึกษาเป็นจำนวนนับ

งานที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้

1.ให้สำรวจหนังสือคณิตศาตร์มา1เล่ม
2..ให้หาความหมายของคณิตศาสร์
3.ให้หาจุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
4.ให้หาทฤษฏีการสอนคณิตศาสตร์
5.ให้หาขอบข่ายของคณิตศาสตร์
6.ให้หาหลักการสอนของคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


วันที่ 2 พฤษจิกายน  2555

            วันแรกของการเรียนการสอนของรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา 5 นาที  แล้วอาจารย์ก็ให้เซ็นชื่อหลังจากที่เพื่อนทยอยมาจนครบ  อาจารย์ก็พูดถึงข้อตกลงต่าง ๆ ในการเรียน  คือ  การแต่งกาย   ห้ามนำอาหารเครื่องดืิมมากินที่ตึกคณะ  ข้อตกลงต่าง ๆ ในการทำบล๊อก  ซึ่งเกณฑ์ในการทำบล๊อกอาจารย์ให้ไปดูที่ course  syllabus 

บรรยากาศถายในห้องเรียน
    อาจารย์จะพูดถึงการปฏิบัติตัวในห้อง  ว่าไม่ให้คุยกันเพราะจะทำให้เพื่อนเสียสมาธิ  และเพื่อนก็เดินไปเข้าห้องน้ำบ่อยอาจารย์ก็ว่าบ้าง

บันทึกความรู้
จากนั้นอาจารย์ก็ให้เขียนประโยค 2 ประโยค เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและให้เขียนความคาดหวังจากรายวิชานี้  ซึ่งดิฉันเขียนดังนี้
1.การเรียนรู้ที่ให้เด็กได้ฝึกการคิด วิเคราะห์  ด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางสมอง
2.การที่เด็กได้ฝึกกระบวนการคิดต่าง ๆ

ความคาดหวัง
1.ได้รู้ถึงการจัดประสบการณ์ในการจัดกิจกรรม
2.ทราบพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกต์ใช้  
   การทราบทฤษฏีที่เกี่ยวกับเด็กในด้านคณิตศาสตร์เป็นแบบไหนทำให้เวลาเราจัดประสบการณ์ให้เด็กสามารถจัดได้ตรงตามความต้องการของเด็ก